Article

ถอดบทเรียนจาก SE Skill Share ครั้งที่ 1


SE Skill Share ครั้งท่ี 1 กิจกรรมเสวนาออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์ม GatherTown เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างผู้ประกอบกิจการเพื่อสังคมและผู้เชี่ยวชาญในแขนงต่างๆ ที่คร่ำหวอดในวงการ SE มาร่วมระดมสมองและให้คำแนะนำเก่ียวกับการแก้ปัญหาในการดำเนินธุรกิจใน 3 หัวข้อเสวนาหลัก ได้แก่ 1) เมื่อกิจการต้องปรับตัวมาให้บริการผ่านออนไลน์จะลงทุนอย่างไรดี 2) งานพัฒนาชุมชนชนต้องทำอย่างไรให้ขยายผลได้แบบ Startup 3) กิจการต้องขยายจะพาทีมโตอย่างไร

ภาพประกอบเนื้อหา

💬 คุณนรินทร์ จิตต์ปราณีชัย: “ทีมบริหารจะต้องเริ่มพิจารณาเอาเทคโนโลยีต่างๆ มาร่วมเป็นเครื่องมือในการทำงานเมื่อไหร่?”

💬 คุณอมรพล หุวะนันทน์: “อย่าง moreloop ถึงจะเป็นธุรกิจผลิตเสื้อ แต่เมื่อธุรกิจเริ่มขยายตัวใหญ่ขึ้น เราก็คิดว่าอยากใช้ระบบต่างๆ มาช่วยจัดการการทำงานให้ดียิ่งขึ้นโดยไม่ได้พึ่งพาแค่คน แต่ใช้ระดับ System Scale ซึ่ง moreloop มองว่า การจัดการสต็อกผ้าสามารถให้มีความ Automation จึงเริ่มไปคุยกับ Potential CTO (Chief Technical Officer) ฉะนั้นการจะตอบว่าเราจะนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ เมื่อไหร่นั้น สิ่งแรกคือเราต้องชัดเจนว่าเราต้องการอะไร จากนั้นค่อยไปศึกษาว่ามันมีเทคโนโลยีอะไรบ้างที่ช่วยปิด gap เราได้ จัดเรียงความคิดของตนเองก่อนและทำงานเป็นขั้นตอนตามลำดับ”

💬 คุณนรินทร์ จิตต์ปราณีชัย: “ในกรณีที่ตัดสินใจแล้วว่าต้องการใช้ outsource เข้ามาช่วยงานด้าน tech solution มีประเด็นพื้นฐานอะไรบ้างที่ควรต้องรู้ก่อนจะไปคุยกับบริษัทเหล่านี้เพื่อจะให้ได้ผลลัพธ์ที่เราอยากได้?”

💬 คุณอมรพล หุวะนันทน์: “สิ่งแรกคือต้องรู้ว่า Customer Journey ของเราคืออะไร ต้องเล่าได้ พูดคุยกับทีมไปเลยว่าเราต้องการอะไร การเข้าใจระบบหลังบ้านขององค์กรเป็นอย่างดีจะทําให้เห็นภาพชัดขึ้น ซึ่ง Requirement มันจะชัดเจนขึ้นได้เราจะต้องมี Transaction หรือลูกค้า หรือเราเองเข้าใจ Operational Process หลังบ้านขององค์กรค่อนข้างดี ซึ่งการที่เราจะรู้ตรงนั้นได้เราต้องมี Flow ของ Customer ตั้งแต่ยังไม่มาเป็น Customer จนมาเป็น Customer องค์กรเรา ต้อง Step ได้ตั้งแต่ 1-10 อย่างของ moreloop เองค่อนข้างยาก เพราะเราเป็นตลาด 2 ด้าน เป็นทั้ง Buyer และ Seller ไปพร้อมๆ กัน ผมจึงค่อยๆ ทําเป็น Step บางครั้งต้องเพิ่มฟีเจอร์ใหม่เพื่อนํา system มาช่วย optimize สิ่งทีทําอยู่แล้วให้ทําได้เร็วขึ้น ส่วนพื้นฐานเกี่ยวกับ tech solution นั้น ปกติระบบประกอบไปด้วยคนออกแบบระบบ UX UI ซึ่งก็คือ Frontend ระบบหน้าบ้าน และ Backend ระบบข้อมูลหลังบ้าน ดึง และ Full Stack คือทําได้ทั้งหมด ทีมของ moreloop จ้าง UX UI เพื่อทํางานให้ นอกจากนั้น moreloop ยังล้อมรอบไปด้วยช่องทางต่างๆ ไม่ใช่แค่ช่องทางเดียว เพราะฉะนั้นจะต้องมีคนดูแลแบบ full-time เพื่อให้ระบบทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

💬 คุณนรินทร์ จิตต์ปราณีชัย: “มีคําแนะนําในการ detect outsource ที่ดีหรือไม่?”

💬 คุณอมรพล หุวะนันทน์: “เราต้องคุยกับทีมพัฒนาระบบออนไลน์หลายๆ ทีม เพื่อหาทีมที่เข้ากันได้มากที่สุด อย่าง moreloop คุยมา 3-4 ทีมเหมือนกันกว่าจะหาทีมพัฒนาฯ ที่ลงตัวกับเราได้ ต้องใช้ระยะเวลา แนะนําเพิ่มเติมว่าหากทําแบบ full time ควรมีการนัดประชุมที่ชัดเจนเลยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง จะส่งผลดีต่องานเพราะถือเป็นการกระตุ้นการทํางานทั้งทีมพัฒนาฯ เอง และคนในองค์กรของเราเองด้วย”

💬 คุณลักขณา แสนบุ่งค้อ: “ปัจจุบันมีความต้องการผลิตภัณฑ์จากชุมชนค่อนข้างมาก กิจการจึงขยายไปรับผ้าจากชุมชนข้างเคียงด้วย แต่ชุมชนที่ไม่ได้เริ่มทํางานมาด้วยกันไม่เข้าใจเรื่องการบริหารจัดการแบบ SE จะทําอย่างไรในเรื่องของการสื่อสารไปจนถึงการออกแบบโมเดลธุรกิจ?”

💬 คุณสมิทธิ หาเรือนพืชน์: “ประเด็นที่ชุมชนกลุ่มใหม่ที่เข้าไปทํางานด้วยยังเข้าใจไม่ตรงกับเรา ซึ่ง มักจะเป็นประเด็นการทํางานในแบบธุรกิจ ได้แก่

  1. คุณภาพสินค้าที่ต้องได้ตามมาตรฐาน
  2. ไม่เข้าใจการคํานวณต้นทุน กําไร ส่งผลให้กําหนดราคาตํ่ากว่าราคาตามท้องตลาดมาก

ทางแก้คือ เมื่อขยายไปยังชุมชนใหม่ๆ ให้เริ่มด้วยการอบรมและวางแผนร่วมกัน โดยเอาประเด็นที่เป็นความท้าทายเหล่านี้บรรจุลงไปในการอบรม เช่น ทําไมต้องทําตามมาตรฐานคุณภาพ และการตรวจสอบคุณภาพต้องทําอย่างไร ทําไมต้องตั้งราคาแบบนั้น วิธีการคํานวณต้นทุน-กําไรทําอย่างไร

ควรฝึกให้มีตัวแทนในชุมชนใหม่ที่สามารถทําหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพสินค้า (QC) เองได้ เพื่อไม่ให้เกิดคอขวดในการทํางานที่จะต้องรอทาง Banana Land ตรวจสอบให้เท่านั้น

การขยายไปยังชุมชนใหม่ต้องรีบสร้าง quick win ทําให้คนกลุ่มแรกในชุมชนใหม่ประสบความ สําเร็จ เช่น ได้รายได้เพิ่มในทันที และต้องคุยให้ชัดเจนว่ารายได้ในส่วนที่ชุมชนจะได้คือเท่าไหร่ จัดสรรอย่างไร จะทําให้เกิด trust และขยายไปยังคนจํานวนมากขึ้นได้ นอกจากนั้นควรเริ่มจากการทํากับกลุ่มเล็กก่อน แล้วค่อยขยายเมื่อมั่นใจในศักยภาพชุมชนและคุณภาพของสินค้าที่ผลิตได้ เพื่อให้มั่นใจว่าชุมชนเองทําตามที่เราไปสัญญากับลูกค้าได้”

💬 คุณลักขณา แสนบุ่งค้อ: “สําหรับกิจกรรมการท่องเที่ยวและการขายผลิตภัณฑ์ชุมชน ชาวบ้านมี ความเข้าใจความเป็นธุรกิจอยู่แล้ว รันได้ต่อเนื่อง แต่กิจกรรมเกิดใหม่อย่างเช่นการลดการเผาฟาง ตั้งต้นมาเป็นกิจกรรมที่เน้นประโยชน์ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก การดําเนินการต่างๆ เป็นลักษณะขอแรง แลกของกัน จะทําอย่างไรที่จะพัฒนาไปเป็นธุรกิจเพื่อให้เกิดความยั่งยืนได้?”

💬 คุณสมิทธิ หาเรือนพืชน์: “ถ้าอยากแก้ปัญหานี้อย่างยั่งยืน ต้องทําให้ชาวบ้านมีรายได้ที่แน่นอนจากการจัดการฟาง จะมากจะน้อยไม่เป็นไร แต่มีรายได้ทุกครั้งที่นํามาให้ทาง Banana Land ให้พิจารณาปรับสัดส่วนจากการขอหรือรับซื้อเพื่อทําปราสาทฟาง หรือแลกกันกิน มาเน้นการรับซื้อเพื่ออัดก้อนขาย สร้างเป็นธุรกิจใหม่ขึ้นมา

แนวทางการสร้างธุรกิจอัดฟาง

  1. ศึกษาตลาด รับซื้อฟางอัดก้อนและอาหารหมักสําหรับสัตว์ในพื้นที่ใกล้เคียงที่ไม่เสียค่าขนส่งมาก แบ่งสัดส่วนขายเป็นก้อนให้มากหน่อย
  2. ดูต้นทุนของเรา มีพื้นที่นากี่ไร่ ได้ฟางอัดกี่ตัน เพื่อดูว่าควรลงทุนกับเครื่องขนาดไหน ใช้แรงงานเท่าไหร่
  3. ดูการสนับสนุนจากแหล่งต่างๆ สําหรับเงินทุนตั้งต้น เช่น การขอเงินให้เปล่ามาลงทุนกับเครื่องขนาดเล็ก หรือการระดมทุนผ่านแพลตฟอร์มที่เน้นการสร้าง impact (เช่น เทใจ)”

💬 คุณเจนวิทย์ วิโสจสงคราม: “ความท้าทายเดิมที่ประสบอยู่คือ มี turnover สูง ปัจจุบันมี full- time ประมาณ 20 คน และ part-time 30 คน การที่พนักงานเข้า-ออกบ่อย ทําให้ทีมบริหารต้องแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้ามาก ยากที่จะ focus กับแผนการขยาย มีแนวทางหรือ cases ที่จะแนะนําในเรื่องการจัดการความท้าทายนี้อย่างไร?”

💬 คุณสริตา วรวิทย์อุดมสุข: “Buddy Homecare ยากตรงที่มีต้นทุนค่อนข้างสูง ต้องช่วยกันคิดและวางแผนงานว่ากี่ปีถึงจะได้ขึ้นตําแหน่ง อาจจะต้องมีการ motivate ใหม่ให้มีระยะเวลาที่สั้นลง ทําให้พนักงานอยากอยู่กับเรามากยิ่งขึ้นโดยอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของเงินเดือนและสวัสดิการต่างๆ”

💬 คุณเจนวิทย์ วิโสจสงคราม: “ต้นทุนบุคลากรดั้งเดิมมาจากสายงานสังคม แต่การขยายงานขององค์กรจำเป็นจะต้องใช้ทักษะในการทําธุรกิจเข้ามาจับ เช่น การกําหนดมาตรฐานแรงงาน ประสิทธิภาพ การคาดการณ์ด้านการเงิน ฯลฯ แต่บุคลากรยังไม่เข้าใจในประเด็นต่างๆ เหล่านี้ มีคําแนะนําอย่างไร?”

💬 คุณสริตา วรวิทย์อุดมสุข: “ให้เริ่มจากการหาคนที่อยากแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ทางธุรกิจกับ SE มาช่วย Consult ธุรกิจนี้ จะได้มีที่ปรึกษาที่มีความเข้าใจในการบริหารทรัพยากรบุคคลมาเข้าร่วมโดยที่ SE ไม่ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายที่สูงเกินไป”