Video
SE Skill Share ครั้งที่ 1 #หัวข้อที่ 1 “งานพัฒนาชุมชนต้องทำอย่างไรให้ขยายผลได้แบบ Startup”
SE School (Social Enterprise School) แพลตฟอร์มออนไลน์ที่รวบรวมความรู้เกี่ยวกับกิจการเพื่อสังคม โดยโครงการพลังเปลี่ยนแปลงเพื่อสังคม (Banpu Champions for Change: BC4C) ขอเชิญผู้ประกอบการและผู้สนใจร่วมกิจกรรม SE Skill Share ครั้งที่ 1 ซึ่งเป็นกิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างผู้ประกอบกิจการเพื่อสังคมและผู้เชี่ยวชาญ มาร่วมระดมสมองและให้คำแนะนำกับผู้ประกอบการ SE ที่กำลังเผชิญปัญหาในการดำเนินธุรกิจ ผ่านแพลตฟอร์ม Gather.Town เพื่อผลักดันให้กิจการเพื่อสังคมในไทยเติบโตและพัฒนาอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย 3 หัวข้อเสวนาหลัก คือ
หัวข้อที่ 1
“งานพัฒนาชุมชนต้องทำอย่างไรให้ขยายผลได้แบบ Startup” โดย คุณลักขณา แสนบุ่งค้อ ผู้ก่อตั้ง Banana Land และคุณสมิทธิ หาเรือนพืชน์ ผู้อำนวยการฝ่ายสนับสนุนการปฏิบัติงานพิเศษ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ
💬 คุณลักขณา แสนบุ่งค้อ: “ปัจจุบันมีความต้องการผลิตภัณฑ์จากชุมชนค่อนข้างมาก กิจการจึงขยายไปรับผ้าจากชุมชนข้างเคียงด้วย แต่ชุมชนที่ไม่ได้เริ่มทํางานมาด้วยกันไม่เข้าใจเรื่องการบริหารจัดการแบบ SE จะทําอย่างไรในเรื่องของการสื่อสารไปจนถึงการออกแบบโมเดลธุรกิจ?” . 💬 คุณสมิทธิ หาเรือนพืชน์: “ประเด็นที่ชุมชนกลุ่มใหม่ที่เข้าไปทํางานด้วยยังเข้าใจไม่ตรงกับเรา ซึ่ง มักจะเป็นประเด็นการทํางานในแบบธุรกิจ ได้แก่ 1) คุณภาพสินค้าที่ต้องได้ตามมาตรฐาน 2) ไม่เข้าใจการคํานวณต้นทุน กําไร ส่งผลให้กําหนดราคาตํ่ากว่าราคาตามท้องตลาดมาก
ทางแก้คือ เมื่อขยายไปยังชุมชนใหม่ๆ ให้เริ่มด้วยการอบรมและวางแผนร่วมกัน โดยเอาประเด็นที่เป็นความท้าทายเหล่านี้บรรจุลงไปในการอบรม เช่น ทําไมต้องทําตามมาตรฐานคุณภาพ และการตรวจสอบคุณภาพต้องทําอย่างไร ทําไมต้องตั้งราคาแบบนั้น วิธีการคํานวณต้นทุน-กําไรทําอย่างไร . ควรฝึกให้มีตัวแทนในชุมชนใหม่ที่สามารถทําหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพสินค้า (QC) เองได้ เพื่อไม่ให้เกิดคอขวดในการทํางานที่จะต้องรอทาง Banana Land ตรวจสอบให้เท่านั้น
การขยายไปยังชุมชนใหม่ต้องรีบสร้าง quick win ทําให้คนกลุ่มแรกในชุมชนใหม่ประสบความ สําเร็จ เช่น ได้รายได้เพิ่มในทันที และต้องคุยให้ชัดเจนว่ารายได้ในส่วนที่ชุมชนจะได้คือเท่าไหร่ จัดสรรอย่างไร จะทําให้เกิด trust และขยายไปยังคนจํานวนมากขึ้นได้ นอกจากนั้นควรเริ่มจากการทํากับกลุ่มเล็กก่อน แล้วค่อยขยายเมื่อมั่นใจในศักยภาพชุมชนและคุณภาพของสินค้าที่ผลิตได้ เพื่อให้มั่นใจว่าชุมชนเองทําตามที่เราไปสัญญากับลูกค้าได้”
💬 คุณลักขณา แสนบุ่งค้อ: “สําหรับกิจกรรมการท่องเที่ยวและการขายผลิตภัณฑ์ชุมชน ชาวบ้านมี ความเข้าใจความเป็นธุรกิจอยู่แล้ว รันได้ต่อเนื่อง แต่กิจกรรมเกิดใหม่อย่างเช่นการลดการเผาฟาง ตั้งต้นมาเป็นกิจกรรมที่เน้นประโยชน์ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก การดําเนินการต่างๆ เป็นลักษณะขอแรง แลกของกัน จะทําอย่างไรที่จะพัฒนาไปเป็นธุรกิจเพื่อให้เกิดความยั่งยืนได้?” . 💬 คุณสมิทธิ หาเรือนพืชน์: “ถ้าอยากแก้ปัญหานี้อย่างยั่งยืน ต้องทําให้ชาวบ้านมีรายได้ที่แน่นอนจากการจัดการฟาง จะมากจะน้อยไม่เป็นไร แต่มีรายได้ทุกครั้งที่นํามาให้ทาง Banana Land ให้พิจารณาปรับสัดส่วนจากการขอหรือรับซื้อเพื่อทําปราสาทฟาง หรือแลกกันกิน มาเน้นการรับซื้อเพื่ออัดก้อนขาย สร้างเป็นธุรกิจใหม่ขึ้นมา . แนวทางการสร้างธุรกิจอัดฟาง - ศึกษาตลาด รับซื้อฟางอัดก้อนและอาหารหมักสําหรับสัตว์ในพื้นที่ใกล้เคียงที่ไม่เสียค่าขนส่งมาก แบ่งสัดส่วนขายเป็นก้อนให้มากหน่อย - ดูต้นทุนของเรา มีพื้นที่นากี่ไร่ ได้ฟางอัดกี่ตัน เพื่อดูว่าควรลงทุนกับเครื่องขนาดไหน ใช้แรงงานเท่าไหร่ - ดูการสนับสนุนจากแหล่งต่างๆ สําหรับเงินทุนตั้งต้น เช่น การขอเงินให้เปล่ามาลงทุนกับเครื่องขนาดเล็ก หรือการระดมทุนผ่านแพลตฟอร์มที่เน้นการสร้าง impact (เช่น เทใจ)”