Video
ปันประสบการณ์ SE : S.H.E. กับการเป็น Start up เพื่อสังคม (EP 3/3)
คุณหมอพูลชัยแห่ง S.H.E. (Social Health Enterprise) จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหัวใจสู่การเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรมที่รักษาสังคม เปิดโอกาสให้ผู้ด้อยโอกาสได้มีทางเลือกในชีิวิต จนสามารถขยายผลได้ในระดับนานาชาติ
การทำงานกับภาครัฐและภาคธุรกิจ
คนส่วนใหญ่มักไม่ค่อยอยากติดต่อกับราชการเพราะรู้สึกว่ามีข้อกำหนดมากมาย แต่ในประเทศไทยการลงทุนจากภาครัฐถือเป็นการลงทุนใหญ่ที่สุด ถ้าเราสามารถเข้าถึงการลงทุนของภาครัฐหรืองบประมาณของหน่วยงานที่เขาสามารถพัฒนาและแก้ไขปัญหาสังคมที่สอดคล้องกับงานของเราได้
เวลาติดต่อ แนะนำให้ติดต่อระดับอธิบดี โดยวิธีการติดต่อในปัจจุบันถือว่าง่ายกว่าสมัยก่อน เนื่องด้วยข้าราชการค่อนข้างระวังในเรื่องภาพลักษณ์ ซึ่งการเขียนจดหมายแนะนำตัวและขอเข้าพบเพื่อปรึกษา ควรเขียนอย่างเป็นทางการ
เริ่มจากการกล่าวถึงการกล่าวถึงสภาพการณ์ปัจจุบัน การแนะนำตนเอง อธิบายถึงนวันตกรรมที่เราทำ พันธมิตรของเรา
ในส่วนของวัตถุประสงค์ เพื่อหาความร่วมมือระหว่างภาครัฐ หน่วยงานและเรา
อย่าเขียนขอเงินหรืองบประมาณตั้งแต่ครั้งแรก แต่ให้เขียนเรื่องที่สร้างความประทับใจให้กับเขา นำเสนอสิ่งใหม่ ๆ ให้เขาสนใจ
การที่เรานำเสนอทางแก้ไขปัญหาด้วยนวัตกรรมมักทำให้เขาตื่นเต้น
ต้องระลึกว่าพวกเขามีงานประจำ แต่เราต้องพยายามสร้างสัมพันธ์ที่ดีไว้
“ผมไม่อยากรบกวนเวลาท่านบ่อยๆ ขอสแกนไลน์ไว้ได้ไหม ทางผมจะส่งเรื่องหรืออัพเดตความก้าวหน้าของงานไว้เมื่อท่านสะดวกแล้วค่อยอ่าน” วิธีนี้มีประสิทธิภาพมาก
ถ้าเป็นเบอร์โทรจะไม่ค่อยสะดวก
“เมื่อเขาคุ้นเคยและเห็นความก้าวหน้าของงานเรา เขาจะเกิดการเปรียบเทียบกับการทำงานแบบเดิม ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้กับเรา”
SHE ทำงานกับผู้ต้องโทษโดยในปีที่ 3 มีการเขียนพรบ.ราชทัณฑ์ใหม่ทั้งฉบับ และเราได้รับเชิฐให้เข้าเป็นกรรมธิการในการร่างพรบ.นั้น ซึ่งเป็นโอกาสดีอย่างมากที่เราจะเติมประเด็นที่ควรมีลงในกฏหมายหลัก เช่น การทำงานร่วมกับภาคประชาสังคม การที่กรมต้องจับมือกับหน่วยงานอื่นเพื่อคืนคนดีสู่สังคมให้เกิดประสิทธิภาพ
จากการที่เราส่งงานของเราเข้าสู่มือของอธิบดี 5 – 6 คน วันหนึ่งเมื่อรัฐบาลทำเรื่องปฏิรูป
เพื่อให้การขับเคลื่อนระดับกระทรวง ธุรกิจเพื่อสังคมอย่างเราได้รับเชิญเข้าไปในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิ
ในการแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูป เช่น SHE ได้รับการเชิญให้เข้าไปเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในการพัฒนาพฤตินิสัย
เพราะเรามีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ด้านนี้
ไม่ควรละเลยภาครัฐ อาจเริ่มจากการติดต่อกับราชการระดับเล็ก ๆ เพื่อขอคำปรึกษาในการปรับกลยุทธ์แล้วทำหนังสือถึงระดับอธิบดี
ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เราหาได้จากเว็บไซต์ของกระทรวงว่ากรมไหนดูแลรับผิดชอบเรื่องอะไร
สถาบันพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมีข้อมูลเรื่องการปฏิรูปประเทศ การกำหนดดัชนีตัวชี้วัดของกระทรวงต่าง ๆ อยู่
ควรศึกษาและตรวจสอบข้อมูลเหล่านี้เพื่อความน่าเชื่อถือเวลาเราเขียนโครงการเสนอภาครัฐ
“อย่าคาดหวังว่าเมื่อมีจดหมายหรือนโยบายใด ๆ มาสนับสนุนเราแล้ว ทุกองค์กรของภาครัฐจะสนับสนุนเรา
ทุกอย่างเราต้องขับเคลื่อนด้วยข้อมูลและความเป็นจริง”
บางครั้งเราอาจต้องก้าวไปถึงขั้นเขียนกฏหมายเอง เช่น เราทำเรื่อง workplace stress หรือความเครียดจากการทำงาน เรานึกถึงกลุ่มประกันสังคมที่มีอยู่ 13 ล้านคน ทำอย่างไรให้คนกลุ่มนี้ใช้บริการเราอย่างต่อเนื่องซึ่งเป็นปัจจัยหลักสู่ความสำเร็จมาก ๆ
“Regulatory Sandbox คือการมีกฏหมายอยู่แล้วแต่ไม่มีใครนำมาใช้ ลองหาพื้นที่แล้วลองใช้กฏหมายข้อนั้นอย่างเต็มที่ว่าใช้คนเท่าไหร่ ใช้เงินเท่าไหร่ ผลงานออกมาเท่าไหร่ ถ้าผลออกมาดีก็ทดลองทำกับที่อื่น ๆ ต่อไป” ซึ่งไม่เหมือนโครงการนำร่องที่ตั้งงบประมาณมาสนับสนุนครั้งเดียวแล้วก็จบไป แต่เป็นเรื่องที่มีงบสนับสนุนอยู่แล้ว เราแค่ใช้ประโยชน์ให้เต็มที่
“ปัจจัยสำคัญหนึ่งอย่างในการขยายผลในระดับสากล คือต้องมั่นใจว่ามีกฏหมายรองรับประเด็นที่ต้องการแก้ไข เพื่อให้สามารถนำสิ่งที่เราทำไปปฏิบัติซ้ำในพื้นที่อื่น ๆ ได้”
ดังนั้นการเข้าถึงภาครัฐเป็นเรื่องสำคัญ
สำหรับภาคธุรกิจ แนะนำให้เข้าทางตลาดหลักทรัพย์เนื่องจากมีแพลตฟอร์มเรียกว่า SET Social Impact อยู่แล้วซึ่งเปิดโอกาสให้ กิจการเพื่อสังคมใหม่ ๆ ได้เข้าไปเรียนรู้ SE 101 การเป็นธุรกิจเพื่อสังคม ต้องทำอะไรบ้าง?
หรือ SE 102 ในระยะการขยายผลของกิจการเพื่อสังคม ต้องทำอย่างไรบ้าง?
มีบริษัทมหาชนจำนวนมากที่อยากช่วยเราขยายงาน เช่น บริษัทพฤกษาซึ่งสนใจอยากทำงานร่วมกันเพื่อเป็น CSR ของบริษัท สิ่งที่เขาได้รับนอกเหนือจากการลดหย่อนภาษีคือการจัดทำรายงาน CSR or sustainable devleopment report ให้กับตลาดหลักทรัพย์และใช้ในการนำเสนอต่อนักลงทุน ซึ่งนักลงทุนในปัจจุบันให้ความสนใจเรื่อง SDG ค่อนข้างมาก
ดังนั้นในการทำงาน เรามุ่งเน้นไปที่ปัญหาที่เราสนใจและต้องการแก้ไขแต่ควรมองรอบ ๆ ว่ามีปัญหาอื่นใดที่เราสามารถแก้ไขได้ในระหว่างทางด้วย
สรุป
การเริ่มต้นทำกิจการเพื่อสังคมต้องเริ่มจากมองปัญหาให้เป็นก่อน ซึ่ง UNSDG 17 ข้อ ได้บอกปัญหาที่คนทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ และเมื่อศึกษาลงรายละเอียด จะเห็นตัวชี้วัดหรือ KPI ที่บอกรายละเอียดของปัญหา จากนั้นจึงกลับมาดูรายงานประเทศไทยว่ามีปัญหาอะไรบ้างที่ยังทำได้ไม่ดี การเริ่มค้นหาทางแก้ปัญหาต้องพิจารณา 3 ปัจจัย คือ เงิน คน ของ เช่น มีเงินหรือยัง? เอาคนมาจากไหน? คนหาเงินได้ไหม? การทำงานอย่างไร? ภารกิจของกิจการเพื่อสังคม คือการแก้ไขปัญหาสังคมโดยกระบวนการทางธุรกิจที่เติบโต ยั่งยืน และสร้างผลกระทบทางบวกได้ เริ่มจากการสังเกตเรื่องที่ประชาชนบ่น เพราะเสียงบ่นคือเสียงความรู้สึกของประชาชนที่คนทำงานภาครัฐต้องตอบสนอง ซึ่งผู้ประกอบการสังคมต้องมีนวัตกรรมหรือกระบวนการทางธุรกิจที่ทันสมัยกว่าภาครัฐ และกระบวนการนี้ต้องสามารถแก้ปัญหาให้ประชาชนได้โดยไม่เพิ่มภาระให้กับประชาชนหรือภาครัฐ แต่เป็นการทำงานที่เชื่อมความรู้และความสามารถที่ทั้งสองภาคขาดหายไป ความท้าทายในช่วง 1 – 2 ปีแรก คือการพิสูจน์ว่าเราสามารถสร้างผลกระทบทางสังคมเชิงบวกได้เพราะการสร้างความร่วมมือกับภาครัฐและภาคท้องถิ่นต้องใช้เวลาในการสร้างความเชื่อมั่นและเชื่อใจ การเข้าถึงกลุ่มลูกค้า ต้องกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนและวิเคราะห์พฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายเพื่อออกแบบสินค้าและบริการให้เข้ากับพฤติกรรมของกลุ่มลูกค้า กิจการเพื่อสังคมต้องคิดเรื่องการขยายผลตั้งแต่ต้น ต้องคิดว่าการขยายไปประเทศต่าง ๆ มีข้อจำกัดหรืออุปสรรคในการเคลื่อนย้ายธุรกิจอย่างไร ถ้าเป็นธุรกิจแบบปกติ จะสามารถปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมของเขาได้อย่างไร รายละเอียดเหล่านี้ต้องศึกษาและออกแบบการบริการให้เหมาะสม นอกจากนี้ ควรมีกฏหมายรองรับประเด็นที่ต้องการแก้ไขเพื่อให้สามารถนำสิ่งที่กำลังทำไปปฏิบัติซ้ำในพื้นที่อื่น ๆ ได้ การนำภูมิปัญญามาสร้างนวัตกรรมหรือปรับแต่งให้เข้าถึงง่าย ต้องระลึกว่าภูมิปัญญาท้องถิ่นแห่งหนึ่ง อาจไม่ได้รับการยอมรับในอีกแห่งหนึ่ง จึงต้องปรับให้เป็นสิ่งที่คนทั่วโลกยอมรับและอยากใช้ และการอธิบายเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นให้กับคนภายนอกฟังแล้วเข้าใจ ควรย้ายบทสนทนาพื้นฐานไปพูดในเรื่องที่พวกเขารู้จักคุ้นเคย การสื่อสารกับภายนอกโดยเฉพาะในระดับโลก ต้องนึกถึงสื่อพาหะนำสาร เช่น การทำงานกับ UNDP อาจช่วยให้องค์กรสามารถเข้าไปทำงานในประเทศต่าง ๆ ได้สะดวกมากขึ้น การทำงานกับภาครัฐ ในประเทศไทยการลงทุนจากภาครัฐถือเป็นการลงทุนใหญ่ที่สุด แต่ละหน่วยงานมีงบประมาณที่สามารถใช้พัฒนาและแก้ไขปัญหาสังคมในรูปแบบที่สอดคล้องกับงานของเรา จึงเป็นแหล่งทุนสนับสนุนที่ควรสนใจ ในการติดต่อกับราชการ ควรหาข้อมูลเกี่ยวกับความรับผิดชอบของแต่ละกรมกองและศึกษาดัชนีตัวชี้วัดของกระทรวงต่าง ๆ เพื่อความน่าเชื่อถือในการเขียนโครงการเสนอภาครัฐ อย่างไรก็ตาม อย่าคาดหวังว่าเมื่อมีจดหมายหรือนโยบายใด ๆ มาสนับสนุนแล้ว ทุกองค์กรของภาครัฐจะสนับสนุนเรา ทุกอย่างต้องขับเคลื่อนด้วยข้อมูลและความเป็นจริงเป็นหลัก สำหรับภาคธุรกิจ แนะนำให้เข้าทางตลาดหลักทรัพย์เนื่องจากมีแพลตฟอร์มเรียกว่า SET Social Impact ซึ่งเปิดโอกาสให้กิจการเพื่อสังคมใหม่ ๆ ได้เข้าไปเรียนรู้ SE 101 การเป็นธุรกิจเพื่อสังคม ต้องทำอะไรบ้าง? หรือ SE 102 ในระยะการขยายผลของกิจการเพื่อสังคม ต้องทำอย่างไรบ้าง? ปัจจุบันมีบริษัทมหาชนจำนวนมากที่อยากช่วยกิจการเพื่อสังคมขยายงาน ดังนั้นในการทำงาน เรามุ่งเน้นไปที่ปัญหาที่สนใจและต้องการแก้ไขแต่ควรมองรอบ ๆ ว่ามีปัญหาอื่นใดที่สามารถแก้ไขได้ในระหว่างทางด้วย